พร้อมเพย์ (Prompt Pay) ถือเป็นส่วนหนึ่ง
จากผลการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ของรัฐบาล
ที่จะเพิ่มความสะดวกในการใช้จ่าย ของคนไทย ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
และลดการใช้จ่ายเงินสด ซึ่งมีข้อดีต่อประเทศหลายๆ อย่าง ทั้งเรื่องความสะดวก
รวดเร็ว และค่าธรรมเนียมที่ต่ำลง สำหรับคนทั่วไป และสำหรับภาครัฐ เช่น ลดต้นทุนในการบริหารเงิน
การตีพิมพ์เงินธนบัตร และการเก็บรักษาหรือกระจายเงิน
รวมถึงการเก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวของเงินต่างๆ เป็นต้น
หลักๆ คือ
พร้อมเพย์ คือ ช่องทางการแลกเปลี่ยน (หรือโอนเงิน) ระหว่างบุคคล ต่อบุคคล หรือ
ระหว่างบุคคลต่อภาครัฐ (และน่าจะระหว่าง นิติบุคคลด้วย แต่ ณ. ปัจจุบันที่เขียนบทความ
(24/06/2559) ยังไม่มีประกาศรูปแบบทีชัดเจน) ตัวอย่าง ของ ภาครัฐ กับ บุคคล ก็เช่น
จากเดิม เมื่อเรายื่นขอคืนภาษี กรมสรรพากร จะตีเช็ค ส่งไปรษณีย์ ให้เรา
ซึ่งก็มีค่าใช้จ่าย ทั้งตัวเช็ค ค่าไปรษณีย์ รวมถึงเสียเวลาในการส่ง
ก็จะเปลี่ยนมาเป็น กรมสรรพากร จะโอนเงินเข้า บัญชี
ที่เราเลือกผู้เลขที่บัตรประชาชนไว้ให้ผ่านช่องทางพร้อมเพย์ (ในทางกลับกัน
หากต้องชำระเพิ่ม เราก็ชำระผ่านช่องทางพร้อมเพย์ ได้เช่นกัน)
ส่วนระหว่างบุคคลธรรมดา
กับบุคคลธรรมดา ก็เช่น เราเดินไปตลาดนัด ซื้อหมูปิ้ง 5 ไม้ พร้อมข้าวเหนียว รวม 55
บาท แทนที่จะหยิบกระเป๋าสตางค์ขึ้นมา เราก็ยกโทรศัพท์ (Smartphone) เปิดแอปพลิเคชัน (Application) ขึ้นมา
เลือกโอนเงินให้กับบัญชีแม่ค้าหมูปิ้ง
ซึ่งอาจจะใช้บัญชีที่อ้างอิงกับหมายเลขประชาชน หรือเบอร์โทรศัพท์ก็ได้
มองดูจะพบว่าสะดวก
และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม (ในกรณีที่ไม่เกิน 5,000 บาท ตามข้อมูล ณ.
วันที่เขียนบทความ) และจะเปลี่ยนโลกในการใช้จ่ายของคนไทยเราไปเลย
ซึ่งจะเปลี่ยนโลกการใช้จ่ายได้ขนาดไหน
สามารถทำให้คนนิยมได้ไหม ก็คงต้องใช้ระยะเวลาซักพักในการปรับเปลี่ยน
และให้ความยอมรับกันต่อไป
ทั้งนี้โดยความคิดเห็นของผม
ที่เขียนบทความ คิดว่าเป็นโอกาส อันดีที่จะให้คนไทยเรา รู้จักแยกบัญชีใช้จ่าย
กับเก็บออม เช่น เดิม ใช้งานบัญชีเดียว เลขบัญชี 111 (สำหรับรับเงินเดือน)
กับธนาคาร A พอจะลงทะเบียนผูกเลขบัตรประชาชน กับบัญชี ก็เปิดบัญชี 222 (สำหรับใช้จ่าย)
กับธนาคาร A ผูกไว้ เราก็จะสามารถโอนเงินระหว่างบัญชี ธนาคารของเราเองได้ฟรีอยู่แล้ว
หากเราได้รับเงินมาจากภาครัฐ ก็จะลงในบัญชี 222 หรือ หากเราจะกำหนดว่าแต่ละเดือน
แต่ละอาทิตย์ หรือแต่ละวัน จะมีงบใช้จ่ายเท่าไร ก็โอนจากบัญชี 111 มาไว้ที่ บัญชี
222 ได้ตลอดเวลา
เวลาทำรายการ
พร้อมเพย์ ก็จะเกิดการเคลื่อนไหว ในเฉพาะบัญชี 222 ส่วนยอดรายได้หรือเงินออม
เงินเก็บ ก็จะอยู่ในบัญชีที่ 111 ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถแยกแยะ
และป้องกันความผิดพลาดในการใช้จ่ายผ่านช่องทางพร้อมเพย์ได้
โลกการเงินของคนไทยกำลังจะเปลี่ยนครับ หัดเดินการเงินไปด้วยกันครับ
หมายเหตุ
การผูกบัญชีบัตรประชาชน นั้นจะผูกได้กับบัญชีเดียวเท่านั้น ดังนั้นความเห็นส่วนตัว
ควรจะเป็นบัญชีที่เราสะดวกครับ และในมุมธนาคารเอง ก็น่าจะมีความต้องการให้เราไปผูกเลขที่บัตรเรากับเค้าครับ
ดังนั้นไม่น่าจะต้องรีบผูก และรอดูเงื่อนไขจากธนาคารที่เราสะดวกกันอีกทีก็ดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น