วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ออมเงินได้แล้ว เอาเงินออมไปทำอะไรต่อดี


         นับว่าเป็นกระแสหนึ่งของสังคมทุกวันนี้เลย สำหรับการส่งเสริมการออม บางคนก็ออมด้วยเก็บแบงค์ 50 บาท บางคนก็ออมด้วยเศษเหรียญ บางคนก็ออมด้วยตัดเงินเข้าบัญชี บางคนก็ออมด้วยสลากออมสิน บางคนก็ออมด้วยสลากกินแบ่ง.. เฮ้ย! ไม่ใช่ละ


                เอาเป็นว่า พอออมเงินได้แล้ว หลายๆ คนก็งงกับตัวเอง ว่าออมมาได้ไง ออมแล้วจะทำยังไงต่อ เก็บเงิน เก็บเศษเหรียญมาทั้งปี มาดูอีกที มีตังค์เก็บมาตั้งหลายหมื่น เพื่อนชวนไปเที่ยวญี่ปุ่นพอดี เย้!””” เออ.. หมดกันพอดี

                หลังจากหลายคน เข้ามาเป็นสมาชิก คนออมเงินแล้ว ก็จะต้องเจออีกกระแสหนึ่งคือ ต้องลงทุน บางคนก็บอกว่า ต้องลงทุน ไม่ลงทุน เงินที่ออมมาจะโดนเงินเฟ้อกิน หรือ ต้องลงทุน ไม่งั้นจะไม่มีเงินพอใช้ยามเกษียณ แต่สุดท้ายแล้ว ให้ทำยังไงละ ลงทุนไม่เป็น ไม่มีความรู้เลย ไม่ได้เป็นนักธุรกิจนะ จะได้ลงทุนเป็น

                อยากจะบอกว่า เชื่อว่าทุกคนเคยลงทุน ให้เงินกู้มาทุกคนแล้วครับ เชื่อไหม? ทุกคนเคยเป็นเจ้าหนี้มาก่อน อะ ให้เวลานึกๆ ว่าเคยให้ใครยืมเงินไหม สมัยเด็กๆ เคยให้ใครยืมเงินไปหว่า.. (เอ ถ้านึกได้ นึกอีกนิดนะว่าได้คืนครบไหม ถ้าไม่ครบ ไงอ่านให้จบก่อน ค่อยไปทวงนะ) เอาละซิ หลายๆ คน คงนึก เกิดมาไม่เคยให้ใครยืมเงินซักหน่อย มาฟังเฉลยกันครับ

                เคยซิครับ ส่วนใหญ่ คุณทุกคนจะเคยให้ บุคคล คนหนึ่ง ยืมเงิน ยืมโดยมีเงื่อนไขที่ว่า จะต้องให้ดอกเบี้ยคุณด้วยนะ และ คุณจะขอเงินคืนเมื่อไรก็ได้ อืม.. เงื่อนไขดีทีเดียว แถม คุณขอคืนผ่านช่องทางต่างๆ ก็ได้นะ ขอคืน ผ่านตามสาขาก็ได้ ขอคือผ่าน ระบบอินเตอร์เน็ตก็ได้ หรือ ขอคืนผ่านตู้ ATM ก็ได้ นั้นแน่.. ใช่แล้วครับ บุคคลที่ผมพูดถึงก็คือ คุณให้นิติบุคคล อย่างธนาคาร ยืมเงินไปนั้นเอง ผ่านบัญชีเงินฝากของคุณไงครับ โดยมีสัญญายืมเงิน ที่จะให้ดอกเบี้ยคุณ ในแต่ละปี และคุณจะทวงคืนเมื่อไร ผ่านช่องทางอะไรก็ได้ ตามนั้นครับ

                เพียงแต่ เมื่อมันสะดวกขนาดนี้ ขอคืนเมื่อไรก็ได้ ที่ไหนก็ได้ สิ่งที่แลกมาก็คือ ดอกเบี้ยที่ต่ำมากนั้นเองครับ ที่นี่ ถ้าอยากได้ดอกเบี้ยมากขึ้นละ ทำอย่างไรได้บ้าง ก็ต้องมีเงื่อนไข อื่นๆ เข้ามาเพิ่มไงครับ เช่น
- จะให้ยืมนานขึ้น เช่น ต้องให้ยืมอย่างน้อย 3 เดือน 6 เดือน หรือก็คือการฝากประจำนั้นเอง
- ไม่เอาคืนบ่อยๆ นะ หรือ ก็คือ มีข้อจำกัดในการเอาเงินคืน เช่น บัญชีดอกเบี้ยสูง ของธนาคารต่างๆ ที่จำกัดจำนวนครั้งในการคืน หรือ จำกัดช่องทางในการคืนเงิน
นอกจากบัญชีเงินฝากต่างๆ แล้ว ก็ยังมีการลงทุนประเภทอื่นๆ ที่ทำผ่านธนาคารได้อีก เช่น
-  ซื้อสลากออมสิน หรือ ธกส. ที่คล้ายๆ ฝากประจำระยะยาว แต่แทนที่จะได้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยทั้งหมดอย่างเดียว ทางธนาคาร ก็แบ่งดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวนั้น มาเป็น รางวัลให้มาลุ้นกัน
-           ลงทุนผ่านกองทุนต่างๆ  ซึ่งก็มีอีกมากมายหลากหลายประเภท
จนไปถึงการ ลงทุนเองในพันธบัตรรัฐบาล หรือ หุ้นกู้ ของบริษัทต่างๆ ลงทุนผ่านตลาดหุ้น ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ

ซึ่งก่อนจะลงทุนในอะไร เราก็ต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนนะครับ เพราะการลงทุน แต่ละประเภท มีวัตถุประสงค์ต่างกัน หรือ หากมองเทียบเคียง ก็ต้องบอกว่า ให้ลองมอง การลงทุน แต่ละอย่าง เป็น Tool หรือ อุปกรณ์ในการใช้งาน ที่เราสามารถเลือกใช้ได้ เช่น อุปกรณ์ช่าง หากเราไม่รู้อะไรเลย เราก็รู้แค่ ค้อนเอาไว้ทุบ ไขควงเอาไว้ไข แต่หากเราศึกษา จะพบว่า มีคีม มีกุญแจปากตาย มีสว่านที่ต้องลงทุนหน่อย แต่สร้างความสะดวกให้เรา ทำให้เราทำงานได้ง่าย และเสร็จเร็วขึ้น การลงทุนต่างๆ ก็เช่นกันครับ หากเราศึกษา และวางเงินออม ไปลงทุน ได้ถูกที่ ถูกอุปกรณ์ ก็จะช่วยผ่อนแรง และ สร้างผลตอบแทนที่ดียิ่งขึ้นให้กับเราได้เช่นกัน มาเริ่ม หัดเดินการเงิน กันครับ

หัดเดินการเงิน

เริ่มเรียนรู้ เริ่มหัดเดินการเงิน กันครับ

ขอบคุณ ภาพประกอบจาก http://www.pixabay.com

วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ปวดหัวจัง มีเงินเก็บ แต่ไม่รู้ว่าจะเอาไว้ที่ไหนดี

      โอ้ย! ปวดหัวจัง มีเงินเก็บ แต่ไม่รู้ว่าจะเอาไว้ที่ไหนดี นอกจากฝากธนาคาร หรือ ต้องฝากไว้กับบัญชีแบบไหน?? คุณเคยเจอปัญหานี้ไหม ถ้าเจอ แสดงว่า คุณโชคดีนะครับ หรือ น่าจะเคยได้ยินที่คนบอกว่ามันเป็น Happy Problem คือ เป็นปัญหา ที่ดี เป็นปัญหาที่คุณอยากจะเจอ แน่นอนละ วิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ ไม่มีต้องมีเงินออม คุณเอาไหมละ ขอเจอปัญหา ปวดหัว เพราะมีเงินดีกว่าใช่มะ



พอมีเงินออม สิ่งที่เรารู้จักมาตั้งแต่เด็กๆ ก็คือ ให้หยอดกระปุก ฝากธนาคาร ซึ่งในส่วนการฝากธนาคาร เราก็จะรู้จักกันอยู่หลักๆ ว่ามีบัญชี อยู่ 2 ประเภทคือ ฝากออมทรัพย์ กับ ฝากประจำ ซึ่งเอาจริงๆ มันเป็นอดีตไปแล้ว ทุกวันนี้แบงค์เอง มีการสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ขึ้นมาหลากหลายมาก เพื่อ ตอบสนองตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ปัญหาคือ เรารู้จัก เข้าใจ และเลือกใช้อุปกรณ์ หรือ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ เรานี้หรือไม่ หรือความรู้เรายังเป็นแบบเก่า และใช้งานแต่อุปกรณ์แบบเก่าอยู่

กับอีกปัญหาหนึ่ง คือ เรารู้หรือเปล่าว่า เงินก้อนที่เรามีอยู่นั้น มีไว้ทำไม เงินของเรา เราอาจจะมีแยกเป็นหลายส่วน บางส่วนเก็บไว้ใช้ภายในเดือนนี้ บางส่วนเก็บไว้ใช้ในอีก 6 เดือน หรือ 1ปีข้างหน้า (เช่น จะซื้อรถ จะเรียนต่อ เป็นต้น) บางส่วนเก็บไว้ใช้เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน และ บางส่วนเก็บไว้ใช้เมื่อถึงเวลาที่เราไม่ได้ทำงาน

บทความนี้ขอ ตัดพูดแนะนำแบบง่ายๆ ก่อนนะครับ แล้วจะมาพูดถึงในรายละเอียดทีละเรื่องอีกที เรามาลองดูกันว่า ถ้าหากเรามีเงินที่บอกได้ว่ามีไว้ทำแบบนี้แล้ว จะเลือกอุปกรณ์อะไรในการช่วยจัดสรรเงิน ให้ได้ประสิทธิภาพกัน

1. เงิน สำหรับใช้จ่ายภายในเดือน ลักษณะก็คือ เงินที่เราจะต้องสามารถหยิบมาใช้ได้ทันที ที่ต้องการ ซึ่งก็จะเป็นเงินที่เราทุกคนรู้จักกันดีที่สุด เงินนี้จะเก็บไว้ที่บ้านก็ได้ ในกระเป๋าสตางค์ ในบัญชีธนาคารแบบออมทรัพย์ ได้หมด ข้อดีคือ สะดวก หยิบใช้ได้ตลอดเวลา ข้อเสียก็คือ เงินกลุ่มนี้ จะไม่สามารถสร้างผลตอบแทนใดๆ ให้เราได้เลย หรือ ให้ได้น้อยมากกกกกก เช่น ปีละ ไม่ถึง 1% ตามรูปแบบบัญชีออมทรัพย์ปกติ

2.  เงิน สำหรับไว้ใช้ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน เงินกลุ่มนี้ เราจะมองว่า เป็นเงินก้นถุง เป็นเงินที่เราต้องการเก็บไว้เฉยๆ ไม่มีเหตุอะไร ก็ไม่หยิบมาใช้ แต่เมื่อต้องหยิบมาใช้ ก็หยิบมาใช้ได้ทันที และมูลค่าของเงินส่วนนี้ ไม่ควรลดลง แน่นอน ว่าเก็บในบัญชีแบบที่ 1 ก็ได้ เพียงแต่ อาจจะมีปัญหา 2 แบบคือ ถ้าเก็บบนกัน ถึงเวลาอาจจะเผลอหยิบมาใช้โดยไม่รู้ตัว วิธีแก้ไขคือ แยกเปิดบัญชีออมทรัพย์อีกบัญชีไว้เก็บ หรือ อีกที ก็ใช้อุปกรณ์อื่นๆ ช่วย เช่น บัญชีฝากประจำ กองทุนตราสารเงิน หรือพวกออมทรัพย์พิเศษ เป็นต้น ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการที่เบิกถอนได้ภายใน 1 วันทำการ และมูลค่าของเงินไม่ลดลง แถมยังได้อัตราผลตอบแทนที่ดีกว่าฝากออมทรัพย์อีกนิดหน่อยอีกด้วย

3.  เงิน ที่วางแผนว่าจะใช้ในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งถือว่า มีช่วงเวลาพอสมควร ยกตัวอย่าง มีแผนจะซือ้รถในปีหน้า จะดาวน์ซัก 120,000 บาท ก็อาจจะใช้วิธี ทยอยสะสมเงินทุกเดือน เข้ากองทุนตลาดเงิน หรือ กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เดือนละ 5,000 บาท ครบ 2 ปี ก็จะได้เงินมาครบ พร้อมกับผลตอบแทนอีกนิดหน่อย 

4.  เงิน ที่สะสมไว้ใช้ยามเกษียณ หากมองระยะเวลาว่าเป็นการเตรียมเงินระยะยาวมากกว่า 10 ปีแล้ว ก็แนะนำให้ทำความเข้าใจการลงทุนในตลาดหุ้น ที่จะมีความผันผวน แต่หากย้อนดูอดีตที่ผ่านมา หากมีการทยอยลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และมีระยะเวลาที่นานเพียงพอเป็น 10 ปี ผลตอบแทนอย่างแย่ที่สุด ก็ยังดีกว่าผลตอบแทนจากบัญชีเงินฝาก และมีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทน ทีดีถึง 10% ได้ กองทุนหุ้น จึงเป็นทางเลือกที่ดี แต่ในข้อแม้ที่ คุณต้องมี เงินสำหรับข้อ 1 – 3 เรียบร้อยแล้ว เพราะหากเกิดความจำเป็นที่ต้องใช้เงิน แล้วไม่มีเงินเตรียมไว้สำหรับข้อ 1 – 3 กลายเป็นต้องมาหยิบ มายืมเงินในก้อนที่ 4 นี้แล้ว เกิดเป็นปีที่ผลตอบแทนแย่ ก็อาจจะทำให้ผิดหวังไปได้เหมือนกัน

    จริงๆ ทุกเรื่องในชีวิต อยู่ที่ความเข้าใจ และการจัดการ วางแผน ตั้งแต่สมัยเรียน หากเราเข้าใจ มีความรู้ในเรื่องที่เรียน มีการจัดการเตรียมตัวที่ดี ก็จะได้ผลการเรียนที่ดี เมื่อทำงาน หากเรามีความรู้ในเรื่องที่ทำงาน เราเรียนรู้จนเป็นผู้เชียวชาญ และจัดสรรเวลาในการทำงานได้ดี เราก็จะได้ผลงานที่ดี เรื่องการเงินก็เช่นกัน หากเราไม่เรียนรู้ เราก็จะได้ผลตอบแทนเท่ากับความรู้ที่เรามี เราจะไม่มีทางเลือก ไม่รู้จักอุปกรณ์ต่างๆ ที่มี แต่หากเราเรียนรู้ และจัดการ เราก็จะได้ผลตอบแทนที่ดี เหมาะสมกับความรู้ ที่เรามี

เริ่มเรียนรู้ เริ่มหัดเดินการเงิน กันครับ

ขอบคุณ ภาพประกอบจาก http://www.pixabay.com

วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561

ที่มาของเพลง ฤดูที่แตกต่าง - Season Change - บอย โกสิยพงษ์ ( Feat. นภ พรชำนิ)

ที่มาของเพลง ฤดูที่แตกต่าง - Season Change - บอย โกสิยพงษ์ ( Feat. นภ พรชำนิ)

  ได้ฟังเรื่องประทับใจมา อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับ การเงินโดยตรง แต่ก็เชื่อว่าเป็นประโยชน์กับทุกคน และสามารถนำมา ช่วยเสริมสร้าง ประคับประคอง เส้นทางการเงิน ที่ต้องใช้ระยะเวลา และความอดทนอันยาวนาน เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายทางการเงิน ของแต่ละคน

  เพลง ฤดูที่แตกต่าง - Season Change เชื่อว่าทุกคนคงคุ้นเคยกับเพลงความหมายดีอย่างเพลงนี้ กันอย่างดี แต่บางคนอาจจะรู้สึกว่า มันก็เป็นแค่เพลง เป็นเพียงคำคมๆ ที่คนที่ไม่ได้เจอปัญหา อย่างเรา จะมาเข้าใจอะไร พอเจอปัญหาจริงๆ มันไม่ง่าย เหมือนขนาดนั้น ทำไม ทำอย่างไร ก็ไม่พ้นฤดูฝน ซักที มีแต่เจอพายุ ลูกใหม่ กระหน่ำเข้ามา อยากให้ลองฟัง ที่มาของเพลงนี้ จาก คุณ บอย โกสิยพงษ์ กัน



  คุณ บอย เล่าให้ฟัง ในรายการ Byrd Say Play Heart ว่า ในการทำอัลบัมแรก Rhythm and boyd  ที่สร้างชื่อ แจ้งเกิด ให้ทุกคนรู้จักนั้น คุณบอย ขอเงินของที่บ้าน เพื่อไปทำ ซึ่งทำจนเสร็จแล้ว แต่ด้วยความด้อยประสบการณ์ จึงทำให้งานที่ทำเสร็จแล้วนั้น พังไปหมด เพราะไม่ได้ทำ copy สำรองไว้ดีพอ ซึ่งก็หมดกำลังใจไปแล้ว 1 รอบ กลับมาคุยกับที่บ้าน คุณพ่อ ก็ให้กำลังใจ และให้เงินก้อนใหม่ ไปทำอีกครั้ง ครั้งนี้ คุณบอย ก็มีความรอบคอบขึ้น มีการทำสำเนาไว้หลายชุด และเตรียมที่จะนำไปกระจาย ฝากคนต่างๆ หลายชุด แต่ในวันที่ทำเสร็จนั้น งานที่อยู่ท้ายรถ ที่เตรียมจะนำไปฝากกระจายให้คนรู้จัก คืนนั้น รถก็ถูกงัดขโมยงานไปหมด จนท้อหมดกำลังใจ จนรู้สึกว่าพระเจ้าคงไม่อยากให้ทำแล้ว รวมถึงรู้สึกถึงความไม่ได้เรื่อง ของตัวเอง ที่นอกจากจะไม่ได้เรียนให้เป็นที่ภูมิใจของ พ่อ แม่ แล้ว เมื่อทำงานนำเงินที่บ้านมา ก็ยังล้มเหลวอีก จน คุณแม่ กล่าวว่า "ชีวิตคนเรา เหมือนฤดู ตอนนี้มันฝนตก บอยก็ต้องรอให้ฝนมันหยุด แล้วฟ้าหลังฝนมันจะสวยงาม" จึงได้ทบทวน รอบคอบ และนำแนวคิดนี้ มาแต่งเป็นเพลง ฤดูที่แตกต่าง และ สู้อีกครั้งจนสำเร็จเป็นอัลบัม Rhythm and boyd ที่เราได้ฟังกัน (ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=Uw02bsQlAZ8&feature=youtu.be&t=1h11m51s)



เนื้อเพลง ฤดูที่แตกต่าง - Season Change - บอย โกสิยพงษ์ ( Feat. นภ พรชำนิ)

อดทนเวลาที่ฝนพรำ อย่างน้อยก็ทำให้เราได้เห็นถึงความแตกต่าง
เมื่อวันเวลาที่ฝนจาง ฟ้าก็คงสว่างและทำให้เราได้เข้าใจ
ว่ามันคุ้มค่าแค่ไหนที่เฝ้ารอ

หากเปรียบกับชีวิตของคน เมื่อยามสุขล้นจนใจมันยั้งไม่อยู่
ก็คงเปรียบได้กับฤดู คงเป็นฤดูที่แสนสดใส
แต่ถ้าวันหนึ่งวันไหน ที่ใจเจ็บทนทุกข์ ดังพายุที่โหมเข้าใส่
บอกกับตัวเองเอาไว้ ความเจ็บต้องมีวันหาย
ไม่ต่างอะไรที่เราต้องเจอทุกฤดู

อดทนเวลาที่ฝนพรำ อย่างน้อยก็ทำให้เราได้เห็นถึงความแตกต่าง
เมื่อวันเวลาที่ฝนจาง ฟ้าก็คงสว่างและทำให้เราได้เข้าใจ
ว่ามันคุ้มค่าแค่ไหนที่เฝ้ารอ

เมื่อวันที่ต้องเจ็บช้ำใจ จากความผิดหวังจนใจมันรับไม่ทัน
เป็นธรรมดาที่เราต้องไหวหวั่น กับวันที่อะไรมันเปลี่ยนไป
แต่ถ้าวันหนึ่งวันไหน ที่ใจเจ็บทนทุกข์ ดังพายุที่โหมเข้าใส่
บอกกับตัวเองเอาไว้ ความเจ็บต้องมีวันหาย
ไม่ต่างอะไรที่เราต้องเจอทุกฤดู

อดทนเวลาที่ฝนพรำ อย่างน้อยก็ทำให้เราได้เห็นถึงความแตกต่าง
เมื่อวันเวลาที่ฝนจาง ฟ้าก็คงสว่างและทำให้เราได้เข้าใจ
ว่ามันคุ้มค่าแค่ไหนที่เฝ้ารอ

อย่าไปกลัวเวลาที่ฟ้าไม่เป็นใจ อย่าไปคิดว่ามันเป็นวันสุดท้าย
น้ำตาที่ไหลย่อมมีวันจางหาย
หากไม่รู้จักเจ็บปวดก็คงไม่ซึ้งถึงความสุขใจ

อดทนเวลาที่ฝนพรำ อย่างน้อยก็ทำให้เราได้เห็นถึงความแตกต่าง
เมื่อวันเวลาที่ฝนจาง ฟ้าก็คงสว่างและทำให้เราได้เข้าใจ
ว่ามันคุ้มค่าแค่ไหนที่เฝ้ารอ

หัดเดินการเงิน