วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ปวดหัวจัง มีเงินเก็บ แต่ไม่รู้ว่าจะเอาไว้ที่ไหนดี

      โอ้ย! ปวดหัวจัง มีเงินเก็บ แต่ไม่รู้ว่าจะเอาไว้ที่ไหนดี นอกจากฝากธนาคาร หรือ ต้องฝากไว้กับบัญชีแบบไหน?? คุณเคยเจอปัญหานี้ไหม ถ้าเจอ แสดงว่า คุณโชคดีนะครับ หรือ น่าจะเคยได้ยินที่คนบอกว่ามันเป็น Happy Problem คือ เป็นปัญหา ที่ดี เป็นปัญหาที่คุณอยากจะเจอ แน่นอนละ วิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ ไม่มีต้องมีเงินออม คุณเอาไหมละ ขอเจอปัญหา ปวดหัว เพราะมีเงินดีกว่าใช่มะ



พอมีเงินออม สิ่งที่เรารู้จักมาตั้งแต่เด็กๆ ก็คือ ให้หยอดกระปุก ฝากธนาคาร ซึ่งในส่วนการฝากธนาคาร เราก็จะรู้จักกันอยู่หลักๆ ว่ามีบัญชี อยู่ 2 ประเภทคือ ฝากออมทรัพย์ กับ ฝากประจำ ซึ่งเอาจริงๆ มันเป็นอดีตไปแล้ว ทุกวันนี้แบงค์เอง มีการสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ขึ้นมาหลากหลายมาก เพื่อ ตอบสนองตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ปัญหาคือ เรารู้จัก เข้าใจ และเลือกใช้อุปกรณ์ หรือ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ เรานี้หรือไม่ หรือความรู้เรายังเป็นแบบเก่า และใช้งานแต่อุปกรณ์แบบเก่าอยู่

กับอีกปัญหาหนึ่ง คือ เรารู้หรือเปล่าว่า เงินก้อนที่เรามีอยู่นั้น มีไว้ทำไม เงินของเรา เราอาจจะมีแยกเป็นหลายส่วน บางส่วนเก็บไว้ใช้ภายในเดือนนี้ บางส่วนเก็บไว้ใช้ในอีก 6 เดือน หรือ 1ปีข้างหน้า (เช่น จะซื้อรถ จะเรียนต่อ เป็นต้น) บางส่วนเก็บไว้ใช้เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน และ บางส่วนเก็บไว้ใช้เมื่อถึงเวลาที่เราไม่ได้ทำงาน

บทความนี้ขอ ตัดพูดแนะนำแบบง่ายๆ ก่อนนะครับ แล้วจะมาพูดถึงในรายละเอียดทีละเรื่องอีกที เรามาลองดูกันว่า ถ้าหากเรามีเงินที่บอกได้ว่ามีไว้ทำแบบนี้แล้ว จะเลือกอุปกรณ์อะไรในการช่วยจัดสรรเงิน ให้ได้ประสิทธิภาพกัน

1. เงิน สำหรับใช้จ่ายภายในเดือน ลักษณะก็คือ เงินที่เราจะต้องสามารถหยิบมาใช้ได้ทันที ที่ต้องการ ซึ่งก็จะเป็นเงินที่เราทุกคนรู้จักกันดีที่สุด เงินนี้จะเก็บไว้ที่บ้านก็ได้ ในกระเป๋าสตางค์ ในบัญชีธนาคารแบบออมทรัพย์ ได้หมด ข้อดีคือ สะดวก หยิบใช้ได้ตลอดเวลา ข้อเสียก็คือ เงินกลุ่มนี้ จะไม่สามารถสร้างผลตอบแทนใดๆ ให้เราได้เลย หรือ ให้ได้น้อยมากกกกกก เช่น ปีละ ไม่ถึง 1% ตามรูปแบบบัญชีออมทรัพย์ปกติ

2.  เงิน สำหรับไว้ใช้ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน เงินกลุ่มนี้ เราจะมองว่า เป็นเงินก้นถุง เป็นเงินที่เราต้องการเก็บไว้เฉยๆ ไม่มีเหตุอะไร ก็ไม่หยิบมาใช้ แต่เมื่อต้องหยิบมาใช้ ก็หยิบมาใช้ได้ทันที และมูลค่าของเงินส่วนนี้ ไม่ควรลดลง แน่นอน ว่าเก็บในบัญชีแบบที่ 1 ก็ได้ เพียงแต่ อาจจะมีปัญหา 2 แบบคือ ถ้าเก็บบนกัน ถึงเวลาอาจจะเผลอหยิบมาใช้โดยไม่รู้ตัว วิธีแก้ไขคือ แยกเปิดบัญชีออมทรัพย์อีกบัญชีไว้เก็บ หรือ อีกที ก็ใช้อุปกรณ์อื่นๆ ช่วย เช่น บัญชีฝากประจำ กองทุนตราสารเงิน หรือพวกออมทรัพย์พิเศษ เป็นต้น ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการที่เบิกถอนได้ภายใน 1 วันทำการ และมูลค่าของเงินไม่ลดลง แถมยังได้อัตราผลตอบแทนที่ดีกว่าฝากออมทรัพย์อีกนิดหน่อยอีกด้วย

3.  เงิน ที่วางแผนว่าจะใช้ในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งถือว่า มีช่วงเวลาพอสมควร ยกตัวอย่าง มีแผนจะซือ้รถในปีหน้า จะดาวน์ซัก 120,000 บาท ก็อาจจะใช้วิธี ทยอยสะสมเงินทุกเดือน เข้ากองทุนตลาดเงิน หรือ กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เดือนละ 5,000 บาท ครบ 2 ปี ก็จะได้เงินมาครบ พร้อมกับผลตอบแทนอีกนิดหน่อย 

4.  เงิน ที่สะสมไว้ใช้ยามเกษียณ หากมองระยะเวลาว่าเป็นการเตรียมเงินระยะยาวมากกว่า 10 ปีแล้ว ก็แนะนำให้ทำความเข้าใจการลงทุนในตลาดหุ้น ที่จะมีความผันผวน แต่หากย้อนดูอดีตที่ผ่านมา หากมีการทยอยลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และมีระยะเวลาที่นานเพียงพอเป็น 10 ปี ผลตอบแทนอย่างแย่ที่สุด ก็ยังดีกว่าผลตอบแทนจากบัญชีเงินฝาก และมีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทน ทีดีถึง 10% ได้ กองทุนหุ้น จึงเป็นทางเลือกที่ดี แต่ในข้อแม้ที่ คุณต้องมี เงินสำหรับข้อ 1 – 3 เรียบร้อยแล้ว เพราะหากเกิดความจำเป็นที่ต้องใช้เงิน แล้วไม่มีเงินเตรียมไว้สำหรับข้อ 1 – 3 กลายเป็นต้องมาหยิบ มายืมเงินในก้อนที่ 4 นี้แล้ว เกิดเป็นปีที่ผลตอบแทนแย่ ก็อาจจะทำให้ผิดหวังไปได้เหมือนกัน

    จริงๆ ทุกเรื่องในชีวิต อยู่ที่ความเข้าใจ และการจัดการ วางแผน ตั้งแต่สมัยเรียน หากเราเข้าใจ มีความรู้ในเรื่องที่เรียน มีการจัดการเตรียมตัวที่ดี ก็จะได้ผลการเรียนที่ดี เมื่อทำงาน หากเรามีความรู้ในเรื่องที่ทำงาน เราเรียนรู้จนเป็นผู้เชียวชาญ และจัดสรรเวลาในการทำงานได้ดี เราก็จะได้ผลงานที่ดี เรื่องการเงินก็เช่นกัน หากเราไม่เรียนรู้ เราก็จะได้ผลตอบแทนเท่ากับความรู้ที่เรามี เราจะไม่มีทางเลือก ไม่รู้จักอุปกรณ์ต่างๆ ที่มี แต่หากเราเรียนรู้ และจัดการ เราก็จะได้ผลตอบแทนที่ดี เหมาะสมกับความรู้ ที่เรามี

เริ่มเรียนรู้ เริ่มหัดเดินการเงิน กันครับ

ขอบคุณ ภาพประกอบจาก http://www.pixabay.com

1 ความคิดเห็น:



  1. สร้างรายได้ จากการเทรดค่าเงิน,ทองแร่ต่างๆ บนมือถือ ได้ด้วยตัวเอง สามารถเล่นได้ จ-ศ.ตลอด24ชม.

    ดูได้ที่ www.forexcoolcool.blogspot.com


    ตอบลบ